วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคโนโลยียานยนต์


                        เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

Pongravee.wordpress.

ระบบคอมมอนเรล ไดเรค อินเจคชั่น (Common rail Direct Injection)

ระบบคอมมอนเรล หรือระบบจ่ายน้ำมันแบบรางร่วม เป็นระบบจ่ายน้ำมันที่ได้พัฒนาขึ้นมาล่าสุดในปัจจุบัน ระบบจ่ายเชื้อเพลิงประกอบด้วย ปั๊มแรงดันสูง (ปัจจุบันสามารถทำได้สูงถึง 1800 บาร์ ในประเทศไทย) ในการอัดน้ำมันเข้าสู้รางร่วม (Common Rail) เพื่อรอจังหวะการฉีดที่เหมาะสมที่ประมวลได้จากหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit, ECU) เมื่อถึงจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงที่ ECU ประมวลผลออกมาได้ วาลว์น้ำมันหรือเข็มหัวฉีดPongravee.wordจะถูกยกด้วยแรงขับจากโซลีนอยด์โดยใช้ไฟฟ้า ซึ่งระบบฉีดเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์รุ่นเก่าที่เป็นปั๊มเชื้อเพลิงแบบแถวเรียงหรือจานจ่ายจะใช้วิธีการยกเข็มหัวฉีดด้วยแรงดันในตัวน้ำมันที่ปั๊มเชื้อเพลิงอัดเข้ามา (ประมาณ 120 -250 บาร์) และสามารถเอาชนะแรงกดของสปริงที่หัวฉีดทำให้เข็มหัวฉีดยกเปิดน้ำมันให้ไหลผ่านไปได้ วิธีแบบเก่านี้จะไม่สามารถควบคุมจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงให้ยืดหยุ่นได้ แตกต่างจากระบบคอมมอนเรลซึ้งใช้ไฟฟ้าในการควบคุม ดังนั้นระบบคอมมอนเรลจึงสามารถฉีดเชื้อเพลิงยืดหยุ่นได้ตามสภาวะการทำงานที่เหมาะสมตามการประมวลผลของ ECU โดย ECU ของเครื่องยนต์สามารถรับรู้สภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ได้จาก Sensor ต่าง ๆ เช่น ปริมาณออกซิเจนในไอเสีย แรงดันในรางร่วม คันเร่ง อุณหภูมิต่าง ๆ หรือ อื่น ๆ ข้อดีจากการที่เราสามารถควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงได้ตามต้องการ ECU ปัจจุบันจึงสามารถควบคุมให้มีการฉีดแบบหลายครั้ง (Multiple-Injection) ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณมลพิษไนตริกออกไซด์ แลกช่วยให้มีการเผาไหม้ที่ไม่รุนแรงลดการน็อกของเครื่องยนต์ได้ บริษัทผู้ผลิตระบบเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ปัจจุบันสามารถผลิต ECU ให้คุมคุมการฉีดสูงสุดได้ถึง 5 ครั้งมีพื้นฐานดังนี้คือ การฉีดครั้งที่ 1 เป็นการฉีดล่อ (Pilot Injection) เป็นส่วนช่วยให้เชื้อเพลิงส่วนแรกผสมกับอากาศได้ดีก่อน หลังจากนั้นจึงฉีดครั้งที่ 2 ตามมาเรียกว่า Pre-Injection เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเชื้อเพลิงในการเริ่มการเผาไหม้ส่วนแรก การฉีดครั้งที่ 3 เป็นการฉีดเชื้อเพลิงหลัก Main-Injection เป็นการฉีดที่ควบคุมสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามคันเร่ง การฉีดครั้งที่ 4 เรียกว่า After-Injection เป็นการฉีดเพื่อเผาเขม่าหรืออนุภาคคาร์บอน (PM) ส่วนสุดท้ายเพื่อให้มีการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด และการฉีดที่ 5 สุดท้ายคือ Post-Injection เป็นการฉีดควบคุมอุณหภูมิไอเสีย สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดเชื้อเพลิงแบบ 2 ครั้ง คือ Pilot และ Main-Injection แต่คาดว่าเทคโนโลยีการฉีดแบบ 5 ครั้งจะเข้ามาต่อไปเนื่องจากข้อกำหนดของการปลดปล่อยมลพิษที่เข้มงวดมากขึ้น
ระบบคอมมอนเรลประกอบด้วย ปั๊มแรงดันสูง, รางร่วม, หัวฉีดโซลินอย, อีซียู (ECU) และเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
  • ปั๊มแรงดันสูง สามารถฉีดน้ำมันให้มีความดันได้สูงถึง 1,800บาร์ หรือ 180MPa ขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นและผู้ผลิต
แต่ละเจ้า แรงดันที่สูงนี้ทำให้น้ำมันแตกตัวเป็นละอองได้ดีกว่าการใช้หัวฉีดแบบเก่ามาก หรือที่เรียกว่า Fuel Atomisation

  • รางร่วม มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่มีความหนามากเพื่อทนต่อแรงดันสูง รางร่วมนี้จะรักษาความดันให้คงที่และช่วยให้
ละอองน้ำมันที่จ่ายไปยังห้องเผาไหม้ทุกห้องมีลักษณะเหมือนกัน

  • หัวฉีดโซลินอย ช่วยทำให้สามารถควบคุมเวลาของการฉีดน้ำมัน และปริมาณน้ำมันที่ฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้อย่างละเอียด

  • อีซียู หรือ Electronic Control Unit ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทั้งระบบให้เหมาะสมกับการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็น
การเร่งเครื่อง การขับด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วต่ำ นอกจากนี้อีซียูยังสามารถสั่งให้มีการฉีดน้ำมันเล็กน้อย เข้าไปในห้องเผาไหม้ก่อนที่จะมีการฉีดน้ำมันตามรอบ ได้อีกด้วย เรียกว่า ไพล็อต อินเจ็คชั่น (Pilot Injection) เพื่อที่จะลด ความรุนแรงของการระเบิดในรอบการจุดระเบิด ดังนั้น ลดเสียงดังและการสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นข้อเสียของเครื่องยนต์ดีเซลแบบเก่า นอกจากนี้ ไพล็อต อินเจ็คชั่น ยังช่วยให้เครื่องยนต์สามารถสร้างกำลังงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำการตรวจวัดและตรวจจับสภาวะต่าง ๆ ของระบบควบคุมของเครื่องยนต์ เช่น เซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำมันเชื้อเพลิง และเซ็นเซอร์ขาคันเร่งก็มีหน้าที่ตรวจจับตำแหน่งขาคันเร่งเป็นต้น
ด้วยกลไกการทำงานข้างต้น ระบบคอมมอนเรล จึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเก่า ดังนั้นจึงช่วยประหยัดน้ำมัน ปล่อยมลพิษน้อยกว่า อีกทั้งยังเงียบกว่า และมีการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบเก่าอีกด้วย
ปัจจุบัน ระบบคอมมอนเรล ได้ถูกน้ำมาใช้ในรถกระบะในประเทศไทยเกือบทุกค่าย โดยมีชื่อเรียกทางการตลาดที่แตกต่างกันไป สำหรับรถยนต์นั่งนั้น เครื่องยนต์ดีเซลยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทย แต่ในยุโรปซึ่งนิยมใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล เพราะมีมลพิษต่ำกว่า ระบบคอมมอนเรลนี้ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
ประวัติของระบบคอมมอนเรล เครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรลถูกคิดค้นได้เป็นสำเร็จครั้งแรก โดยบริษัท Bosch ของเยอรมัน โดยในครั้งแรกระบบคอมมอนเรลถูกใช้กับเครื่องจักรขนาดใหญ่ (โดยเป็นคอมมอนเรลระบบกลไกลูกเบี้ยวเปิดหัวฉีดช่วย) ต่อมา Bosch สามารถลดขนาดของระบบลงได้ และติดตั้งกับรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นครั้งแรก (ปี 2540) ปัจจุบันระบบนี้ ได้มีบริษัท ชั้นนำผลิตออกมาเพื่อจำหน่ายให้แก่บริษัทรถยนต์ เช่น Nippon-Denso, Delphi เป็นต้น

ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ


มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้ – แบบฟลูไทม์ (Full Time) – แบบเรียลไทม์ (Real Time) – แบบพาร์ทไทม์ (Part Time) ในแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้
  1. แบบฟลูไทม์ (Full Time)
เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบตลอดเวลา มีข้อดีคือ เกาะถนนดีมาก โดยเฉพาะเวลาเข้าโค้งแรง ๆ หรือเวลาฝนตกถนนลื่น การออกตัวเวลาแข่งก็ไม่ต้องกลัวว่าล้อจะฟรีทิ้งมาก ทำให้ออกตัวได้ดีกว่ารถระบบขับเคลื่อน 2 ล้อที่น้ำหนักและความแรงของเครื่องเท่ากัน แต่ก็มีข้อเสียคือ ยางสึกหรอเร็ว กินน้ำมันมากกว่ารถระบบขับเคลื่อน 2 ล้อที่น้ำหนักและความแรงของเครื่องเท่ากัน เพราะต้องถ่ายทอดกำลังของเครื่องยนต์ทั้ง 4 ล้อ โดยแบ่งเป็นล้อละ 25 เปอร์เซนต์ ซึ่งไม่เหมือนกับระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ ที่ต้องถ่ายทอดกำลังเครื่องยนต์แค่ 2 ล้อ โดยแบ่งเป็นล้อละ 50 เปอร์เซนต์ ตัวอย่างของรถระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบฟลูไทม์มีดังนี้
  1. แบบเรียลไทม์ (Real Time)
เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบอัตโนมัติ หรือ มีการถ่ายทอดแรงบิดของล้อหน้ากับล้อหลังให้สัมพันธ์กัน โดยจะมีเซนเซอร์คอยตรวจจับความเร็วของล้อคู่หน้ากับคู่หลังเมื่อมีล้อใดล้อหนึ่งมีการลื่นไถลหรือฟรีทิ้งเวลาออกตัวแรง ๆ มีข้อดีคือ ประหยัดน้ำมันกว่าแบบฟลูไทม์ เกาะถนนได้ดีเหมือนกับฟลูไทม์ โดยเฉพาะเวลารถวิ่ง ระบบถ่ายทอดแรงบิดทั้ง 4 ล้อ จะแบ่งแรงบิดของกำลังเครื่องยนต์ให้กับล้อคู่หน้ากับคู่หลังดังนี้ ระบบขับเคลื่อนจะแบ่งกำลังส่วนใหญ่ไปที่ล้อหลังเสมอ แต่ถ้าเวลาออกตัวแรง ๆ ล้อหลังจะมีการฟรี ระบบก็จะถ่ายทอดแรงบิดที่ล้อหน้าด้วย เริ่มตั้งแต่ 50 เปอร์เซนต์หรือต่ำกว่านั้นขึ้นอยู่กับความเร็วและกำลังของเครื่องยนต์ แต่เมื่อรถวิ่งได้ความเร็วซักระยะหนึ่งระบบก็จะลดกำลังขับเคลื่อนของล้อหน้าลงมาจนเกือบ 0 เปอร์เซนต์ หรือล้อหน้าไม่ฟรีแล้ว สาเหตุที่ต้องถ่ายทอดกำลังส่วนใหญ่ไปที่ล้อหลังก็เพราะว่าน้ำหนักของรถเวลาวิ่งจะตกลงที่ล้อหลังเป็นส่วนใหญ่ การควมคุมการทำงานของระบบขับเคลื่อนแบบนี้ ก็จะมีการใช้กล่องสมองกลควบคุมและแบบใช้ระบบเกียร์ที่ควบคุมแรงบิดได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างของรถระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบเรียลไทม์มีดังนี้
  1. แบบพาร์ทไทม์ (Part Time)
เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบที่คุณสามารถเลือกเองได้ โดยจะมีเกียร์ของระบบขับเคลื่อนแยกออกมาต่างจากเกียร์ 1, 2, 3, 4, 5, R และเกียร์ของระบบขับเคลื่อนนี้ก็สามารถเลือกที่จะขับเคลื่อน 2 ล้อ 4ล้อ วิ่งช้าหรือเร็วได้ (Low High) ขึ้นอยู่กับสภาพของถนนที่วิ่ง เช่น บนถนนทางเรียบปกติ ก็ใช้ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ ทางที่ค่อนข้างขรุขระลื่นไถลก็ใช้ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบวิ่งเร็ว (High) และทางที่เป็นโคลนลื่นมาก ๆ การปีนไต่ทางสูงชัน ก็ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบวิ่งช้า (Low) ตัวอย่างของรถระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์ดังนี้

ระบบดิฟเฟอร์เรนเชียวลอค (Differential Lock)

ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ แบบซูเปอร์ซีเล็ก

เทคโนโลยีความปลอดภัย

  1. ระบบ Pre-crash safety
  2. กระจกมองหลังแบบ Electrochromic (EC Rear View Mirror)

เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

  1. การทำงานของรถยนต์ไฮบริด (Hybrid)

เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย

  1. ระบบครูสคอนโทล (Cruise control)
ตัวอย่าง:ครูสคอนโทลในโตโยต้าคัมรี่
เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รักษาความเร็วของรถให้อยู่ในระดับคงที่โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ช่วยลดความเหนื่อยล้าในการขับระยะทางไกล โดยทั่วไปเมื่อขับถึงความเร็วที่ต้องการและ ตั้งให้ระบบทำงานแล้ว รถก็จะรักษาความเร็วที่ระดับนั้นโดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ขับไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ระบบจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเมื่อความเร็วของรถต่ำกว่า หรือสูงกว่าที่กำหนดไว้ เช่น ต่ำกว่า 40 ก.ม./ช.ม หรือสูงกว่า 140 ก.ม./ช.ม เป็นต้น รายละเอียดจะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละผู้ผลิต โดยทั่วไปเมื่อเหยียบเบรกรถจะชลอความเร็วลงตามปกติ แต่ถ้าความเร็วยังไม่ต่ำกว่าที่ระบบกำหนดไว้ เมื่อปล่อยคันเบรกระบบจะเร่งความเร็วให้รถกลับมาอยู่ในความเร็วเดิมที่ตั้งไว้โดยอัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยผู้ขับสามารถยกเลิกระบบได้ทุกเมื่อโดยการกดปุ่มยกเลิก

ระบบครูสคอนโทล มีใช้กันอย่างแพร่หลายในรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถที่ใช้เกียร์ธรรมดา ก็สามารถใช้ระบบนี้ได้เช่นกัน โดยเมื่อขับในความเร็วคงที่และไม่มีการเปลี่ยนเกียร์ ก็จะสามารถสั่งให้ระบบ ทำงานได้ โดยระบบจะรักษาความเร็วให้คงที่โดยผู้ขับไม่ต้องเหยียบคันเร่ง แต่เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนเกียร์ ระบบก็จะถูกยกเลิกทันที
ครูสคอนโทลในเกียร์ธรรมดานี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย เนื่องจากสภาพถนนและลักษณะการขับขี่ที่ต้องมีการเปลี่ยนเกียร์บ่อยครั้ง แต่ในต่างประเทศอย่างเช่น ประเทศออสเตรเลีย ระบบนี้มีใช้ในรถกะบะเกียร์ธรรมดาด้วย
ในปัจจุบันระบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นไปอีก เป็นระบบครูสคอนโทลแบบปรับความเร็วอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control) ซึ่งรถจะลดความเร็วลงอัตโนมัติ เมื่อตรวจพอสิ่งที่อยู่ ด้านหน้า โดยระบบจะลดความเร็วของรถให้เท่ากับรถคันหน้า และรักษาระยะห่างที่คงที่ ขึ้นอยู่ กับความเร็ว จนกว่ารถคันหน้าจะหลบไป ระบบจึงจะเร่งให้ความเร็วกลับมาอยู่ในระดับเดิมที่ตั้งไว้ โดยอัตโนมัติ

เทคโนโลยีการสื่อสารในรถยนต์

  1. ระบบนำทางในรถยนต์ (In-car Navigation System)


                 เทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต 
์Netmarks.co.th/index


จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ในอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอในรถต้นแบบของตน แนวโน้มรถยนต์ในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรเราลองไปติดตามดูกันนะค่ะ


1.Honda EV-STER

ต้นแบบสปอร์ตเปิดประทุนขนาดเล็กขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนที่ล้อหลัง สามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 160 กม./ชม. อัตราเร่ง 0-100 กม.ที่ 5 วินาที แหล่งพลังงานเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 10 กิโลวัตต์ ตัวถังรถทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ทำให้รถมีน้ำหนักเบาและประหยัดพลังงาน



Car_1_1.jpg
Car_1_1_2.jpg



2. Mazda Takeri



สิ่งที่น่าสนใจใน Mazda Takeri คือ เทคโนโลยี i-ELOOP (Intelligent Energy Loop) ระบบแปลงพลังงานจลน์จากการเบรคเป็นพลังงานไฟฟ้าและนำไปสะสมไว้ที่ตัวเก็บประจุ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้นี้จะถูกนำไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศ, ชุดเครื่องเสียงและอื่น ๆ ระบบนี้นับว่าเหมาะสมมากสำหรับรถที่ใช้งานในชีวิตประจำวันที่มีทั้งการเร่งและการเบรคบ่อยๆ มาสด้ากล่าวว่าเทคโนโลยี i-ELOOP นี้จะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นถึง 10%

หัวใจสำคัญของระบบ i-ELOOP คือ ตัวเก็บประจุแบบพิเศษที่เรียกว่า EDLC (Electric Double Layer Capacitor) ซึ่งสามารถเก็บพลังงานได้มากกว่าแบตเตอรี่ สามารถเก็บประจุและคายประจุได้อย่างรวดเร็ว มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ และทำให้ระบบ i-STOP สามารถหยุดเครื่องยนต์ระหว่างรถติดได้นานๆ โดยที่อุปกรณ์ไฟฟ้ายังทำงานอยู่และไม่ต้องกลัวว่าแบตเตอรี่จะหมด 

เทคโนโลยี i-ELOOP นี้เป็นหนึ่งใน SKYACTIV TECHNOLOGY ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยียุคใหม่ที่มาสด้าพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆที่จะออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นไป


Car_2_2.jpg


3.Mitsubishi EMIRAI



EMIRAI คิอระบบควบคุมและแสดงผลภายในห้องโดยสารที่ทันสมัยที่สุดที่มิตซูบิชิตั้งใจจะนำมาใช้ในรถยนต์ที่จะออกจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงใน 10 ปีข้างหน้า ระบบดังกล่าวใช้จอแสดงผลแบบโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้โค้งรับกับที่นั่งของผู้ขับขี่ สามารถแสดงข้อมูลต่างๆของรถ พร้อมทั้งยังมีกล้องอินฟราเรดและเซ็นเซอร์ที่จะตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าและอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ขับขี่ ระบบปุ่มควบคุมและสั่งงานเป็นระบบสัมผัสแบบเดียวกับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ทในปัจจุบัน นอกจากนี้ที่นั่งผู้โดยสารด้านหลังยังมีจอแสดงผลแบบสามมิติที่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องสวมแว่น 

Car_3_3.jpg


4.Nissan PIVO 3



ยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่โดยมีระบบ Automated Valet Parking (AVP) สามารถนำรถเข้าที่จอดและชาร์จไฟได้เองโดยไม่ต้องมีคนขับ และวิ่งไปหาเจ้าของรถได้เมื่อถูกเรียกโดยสมาร์ทโฟน และเนื่องจากเป็นรถแบบ 3 ที่นั่งซึ่งมีความยาวไม่ถึง 3 เมตร ทำให้สามารถกลับรถบนถนนที่กว้างเพียง 4 เมตรได้อย่างสบาย



Car_4_4.jpg


5.Nissan TOWNPOD

รถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้สะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ใช้สอยภายในตัวรถ โดยสามารถเปิดโล่งได้ทั้งด้านข้างและด้านหลัง 


Car_5_5_1.jpg
Car_5_5.jpg



6.Toyota FCV-R



“FCV” ย่อมาจาก “Fuel Cell Vehicle” ส่วนตัว “R” ที่ต่อท้ายย่อมาจาก “Reality & Revolution” ยานยนต์ต้นแบบคันนี้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงาน  โตโยต้าวางแผนว่าจะสามารถพัฒนาจนผลิตออกจำหน่ายได้จริงภายในปี 2015

Car_6_6.jpg



ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของเทคโนโลยียานยนต์ที่เราอาจได้ใช้กันในอนาคต สิ่งที่เห็นได้ชัดคือผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นต่างให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการเน้นพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงหรือจากพลังงานไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะดวกสบายควบคู่กันไปด้วย เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เราคงจะได้ใช้รถที่เรียกว่า “สมาร์ทคาร์” เช่นเดียวกับ “สมาร์ทโฟน” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้